กีฬายิมนาสติกลีลา
Rhythmic Gymnastics
กีฬายิมนาสติกลีลาประกอบดนตรีได้เริ่มขึ้นในศตวรรษที่ 19 (พ.ศ. 2443) โดยเริ่มจากการใช้ยิมนาสติกเพื่อการศึกษา ผู้ที่คิดค้นแท้จริงเป็นนักการศึกษาชาวสวิตเซอร์แลนด์ชื่อ Jacques Dalcrole ซึ่งเป็นผู้สร้างวิทยาลัยครูเกี่ยวกับกิจกรรมเข้าจังหวะ 2 แห่งคือ วิทยาลัยในสวิตเซอร์แลนด์ และวิทยาลัยในสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมัน วิทยาลัยทั้งสองแห่งเป็นแหล่งฝึกฝนยิมนาสติกประกอบจังหวะขึ้นเป็นครั้งแรก
จากนั้นได้มีการคิดค้นเพิ่มเติมในเยอรมันโดย Rodolph Boda ในปี พ.ศ. 2424-2513 ซึ่งศึกษามาจาก Dalcroze Eurythmic College และต่อมา Heinrich Modau ในปี พ.ศ. 2433-2517 ซึ่งเป็นลูกศิษย์ของ Rodolph Boda ได้จัดตั้งโรงเรียนของตนเองเป็นโรงเรียนที่เปิดสอนเต้นรำและยิมนาสติกที่อาศัยดนตรีประกอบ Modau ได้พัฒนาทักษะยิมนาสติประกอบจังหวะโดยใช้เครื่องดนตรี และเขาได้ริเริ่มการฝึกประกอบลูกบอล ห่วงฮูลาฮุบ และโยนไม้ เขาได้คิดท่าทางต่างๆ ซึ่งเป็นของใหม่ และมีลักษณะตื่นเต้นผสมกับความสวยงามขึ้นมา
ยิมนาสติกประเภทนี้จัดอยู่ในประเภทยิมนาสติกสากล มีการแข่งขันเฉพาะผู้หญิงเท่านั้น โดยจะแข่งบนพื้นที่ขนาด 12 x 12 เมตร ใช้เวลาในการแข่งขันคนละ 1-1.30 นาที อุปกรณ์ที่ใช้แข่งขันมี 5 ชนิด โดยสหพันธ์ยิมนาสติกสากลได้กำหนดไว้ตั้งแต่การแข่งขันครั้งแรกในกีฬาโอลิมปิก ครั้งที่ 23 พ.ศ. 2527 ณ นครลอสแองเจลิส ประเทศสหรัฐอเมริกา ดังนี้
1. บอล ทำด้วยยางหรือพลาสติก มีเส้นผ่าศูนย์กลาง 18-20 เซนติเมตรน้ำหนัก 400 กรัม
2. ริบบิ้น ทำจากผ้าแพร ความกว้าง 4-6 เซนติเมตร ยาว 5-6 เมตร น้ำหนัก 35 กรัม ( 1 เมตร ใช้ริบบิ้น 2 ชิ้นติดกัน) โดยไม้ทำจากพลาสติก ไม้ไผ่ หรือเทอร์เบอร์ใส ยาว 50-60 เซนติเมตร เส้นผ่าศูนย์กลาง (อย่างมาก) 1 เซนติเมตรตรงที่จับอาจพันด้วยกระดาษกันลื่น ส่วนข้อต่อระหว่างริบบิ้นและไม้จะทำด้วยวัสดุที่สามารถเคลื่อนไหวได้อย่างอิสระ อาจทำด้วยเชือก เส้นลวด ไนล่อน ด้าย และขอเบ็ด ซึ่งมีตะขอเกี่ยวกับโซ่อีกส่วนหนึ่ง ความยาว 7 เซนติเมตร
3. ห่วง ทำด้วยไม้ หรือพลาสติก ขอบอาจจะกลมหรือแบนก็ได้ เส้นผ่าศูนย์กลาง 80-90 เซนติเมตร น้ำหนัก 300 กรัม
4. คลับ หรือ คทา ทำจากไม้หรือพลาสติก น้ำหนัก (อันละ) 150 กรัม ความยาว 40-50 เซนติเมตร
5. เชือก ทำจากป่านหรือพลาสติก วัดตามสัดส่วนของร่างกายผู้เล่น คือ ใช้เท้าทั้งสองเหยียบตรงกลางของเชือก โดยจับปลายเชือกทั้งสองให้อยู่ตรงรักแร้
|
อ้างอิง :
หน่วยศึกษานิเทศน์, สำนักนิเทศและพัฒนามาตรฐานการศึกษา, สำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ, กระทรวงศึกษาธิการ. คู่มือการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เกี่ยวกับการแข่งขันกีฬาเอเชี่ยนเกมส์. กรุงเทพฯ : สำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ. 2541.
www.siamsport.co.th
|
 |
ยิมนาสติกมีประโยชน์กับเด็กอย่างไรบ้าง?
มีประโยชน์ทั้งด้านร่างกายและจิตใจ คือ
- 1.ทำให้เด็กเกิดความสนุกสนาน และรักการออกกำลังกาย
- 2.เพิ่มความยืดหยุ่นของกล้ามเนื้อและการเคลื่อนไหวให้ดียิ่งขึ้น
- 3.เป็นการฝึกการทำงานของระบบประสาท ระบบกล้ามเนื้อให้ทำงานสัมพันธ์กัน
- 4.เป็นการฝึกให้เด็กมีความกระตือรือร้น ไม่เฉื่อยชา และมีปฏิภาณไหวพริบ
- 5.เป็นการฝึกความอดทนอย่างสูง เพราะต้องใช้เวลาฝึกนานมาก กว่าจะเล่นได้อย่างสวยงาม
- 6.มีรูปร่างสง่างาม สมส่วนมากกว่ากีฬาชนิดอื่น
- 7.ระบบประสาทสัมผัสการรับรู้ดีขึ้น
- 8.ทำให้เด็กมีสมาธิมากขึ้น
- 9.รู้แพ้ รู้ชนะ รู้อภัย
|